วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบหลักของโทรศัพท์มือถือ


     1) ตัวเครื่อง ประกอบด้วย แผงวงจร (มีโลหะมีค่าและสารอันตรายหลายชนิด ได้แก่ ทองแดง ทองคำ สารหนู พลวงเบริลเลียม สานทนไฟที่ทำจากโบรมีน แคดเมียม ตะกั่ว นิกเกิล พาลาเดียม เงิน แทนทาลัม และสังกะสี) จอผลึกเหลว (LCD) (ส่วนประกอบของผลึกเหลวนั้นมีหลายชนิดและมีระดับความอันตรายที่แตกต่างกัน) ลำโพงและไมโครโฟน (มีขนาดเล็กมากแต่ก็มีส่วนประกอบของโลหะหนัก) หน้ากากหรือส่วนห่อหุ้มของโทรศัพท์ (ทำจากพลาสติกที่เป็นโพลีคาร์บอเนต หรือ เอบีเอส หรือเป็นส่วนผสมของสารทั้งสองชนิด) แผ่นปุ่มกด และตัวนำสัญญาณ

     2) เครื่องแปลงแรงดันไฟฟ้า  เพื่อใช้อัดไฟแบตเตอรี่ พบว่ามีส่วนประกอบหลักเป็นลวดทองแดงที่มีพลาสติกหุ้ม และส่วนประกอบอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อยคือ ทองคำ แคดเมียม และตัวทนไฟ

     3) แหล่งพลังงาน/แบตเตอรี่ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นแบบที่สามารถอัดเก็บประจุใหม่ได้ ซึ่งได้แก่ ชนิดนิกเกิล-แคดเมียม (Ni-Cd) ชนิดนิกเกิล-เหล็ก (Ni-Fe) และชนิดนิกเกิล-โลหะไฮไดรด์ (Ni-MH) จนมาถึงรุ่นปัจจุบันซึ่งนิยมใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเทียม-ไอออน (Li-ion) ซึ่งสามารถประจุไฟฟ้าได้มากกว่า และสามารถชาร์จไฟได้ในขณะที่ยังมีไฟอยู่ แต่ในบางรุ่นก็ยังมีราคาสูง

การทำงานของโทรศัพท์มือถือ


        เมื่อเราพูดโทรศัพท์มือถือ คลื่นเสียงจะเปลี่ยนเป็นคลื่นวิทยุุ radio waves ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ( electromagnetic radiation) คลื่นนี้จะกระจายไปในอากาศและไปสู่สถานีของวิทยุมือถือ เมื่อมีคนโทรติดต่อมาคลื่นเสียงจะแปลงเป็นคลื่นวิทยุ ส่งไปตามสถานีและส่งมายังผู้รับ
    ความแรงของคลื่นส่วนใหญ่ประมาณ 0.75ถึง 1 watt ในขนะที่เราพูดสมองของเราจะอยู่ใกล้เสาอากาศของโทรศัพท์มือถือมากที่สุด พลังงานจากคลื่นวิทยุจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ


ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรก

โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี ค.ศ.1973 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 
1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก 






ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1973 เขาเป็นวิศวกรอยู่ที่บริษัทโมโตโรล่า และห้องแล็ปของเขาก็สร้างนวัตกรรมให้กับมวลมนุษยชาติ นั่นคือ การเปิดตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เป็นรายแรกของโลกเพราะในใจของเขารู้ดีว่าคนเราต้องการการสื่อสาร และการสื่อสารไม่เคยหยุดอยู่กับที ฉะนั้นคนไปที่ไหน ก็ต้องสื่อสารได้ตลอด และการสื่อสารนั้นยังต้องการความเป็นส่วนตัวด้วย
           และสิ่งที่น่าคิดคือ ในวันก่อนที่เขาจะโชว์มือถือหนักกว่า 3 กิโลกกรัมต่อสายตาชาวโลกนั้น คนทั่วโลกยังรู้จักแต่ชื่อ โทรศัพท์ติดรถยนต์ (Carphone)” ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเครื่องโทรศัพท์ได้ถูกพัฒนาให้ไปติดที่รถ ใช้กับแพทย์ หรือ บริการส่งสินค้าตามบ้าน
           เขายืนทดลองโทรศัพท์จากมือถือเครื่องแรกที่ถนนสายที่ 6 หน้าโรงแรมฮิลตัน ใจกลางเมืองนิวยอร์ก และคนแรกที่เขาโทรหาก็คือ โจ แองเกิล” วิศวกรคู่แข่งที่บริษัท AT&T โดยเขาพูดสั้นๆ ว่าโทรมาจากมือถือ โทรศัพท์ที่ใช้มือถือจริงๆ ต่อจากนั้นก็ไม่ได้ยินเสียงตอบรับจากปลายสายเลย
           จากนั้นเขายังเดินยกมือถือคุยต่อไป โดยที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังข้ามถนนอยู่ ซึ่งเพื่อนของเขาก็ดึงตัวเอาไว้ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดกับเขาคนแรก แต่วันนี้ผู้คนทั่วโลกก็ได้รับประสบการณ์นี้อย่างเคยชินไปแล้ว
            ต่อจากนั้นมา เขาก็ได้เปิดตัวมือถือต้นแบบต่อหน้าสื่อมวลชน เมื่อสื่อทดลองใช้ โดยโทรไปต่างประเทศ ก็ต้องตกตะลึงว่าทำไมสิ่งของเครื่องเล็กๆ ไร้สาย แต่สามารถโทรข้ามโลกใบใหญ่ๆ ของเราได้

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย


  • ปี พ.ศ.2529 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น)ได้เริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยนำระบบ NMT (Nordic Mobile Telephone System) ซึ่งมีให้บริการในประเทศแถบสแกนดิเนเวียน แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องความถี่ในการนำมาให้บริการจาก ความถี่ 450MHz เป็น 470MHz จึงเป็นที่มาของชื่อระบบ NMT470 ซึ่งนับเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแรกของประเทศไทย ระยะแรกให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมลฑลและจังหวัดชายฝั่งด้านตะวันออก ก่อนขยายบริการไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ลักษณะของเครื่องลูกข่ายของระบบ NMT470จะมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 1-5กิโลกรัม ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบมือถือเช่นปัจจุบัน บางครั้งผู้ใช้จึงเรียกว่าโทรศัพท์กระเป๋าหิ้ว

  • ปี พ.ศ. 2530 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้นำระบบ AMPS (Advance Mobile Phone System) ความถี่ 800MHz มาให้บริการ โดยคุณลักษณะเด่นของระบบ AMPS800 คือเครื่องลูกข่ายที่มีขนาดเล็ก สามารถถือไปมาได้โดยสะดวก จึงได้รับความนิยมมากและเป็นที่มาของโทรศัพท์มือถือ ระบบ ANPS800เริ่มให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ก่อนขยายไปตามหัวเมืองใหญ่ แต่การให้บริการระยะแรกไม่ได้เรียกผ่านรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ (รหัส 01) แต่ต้องทำการเรียกผ่านหมวดเลขหมายของพื้นที่กรุงเทพฯ จึงทำให้ผู้ใช้บริการต้องเสียค่าโทรทั้งการโทรออกและรับสาย 

วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ



พัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
                 เราแบ่งยุคของการพัฒนาโทรศัพท์มือถือเป็น Generation เริ่มตั้งแต่ 1G, 2G และ 3G

                 ยุค 1 G หรือ First Generation เป็นยุคที่ใชัสัญญาณอนาล็อก โดยผสมคลื่นเสียงในสัญญาณวิทยุ สามารถใช้งานด้านเสียง (Voice)เพียงอย่างเดียว ไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลอื่นใดเลย คุณภาพเสียงไม่ดีนัก ขนาดโทรศัพท์ใหญ่เทอะทะ เริ่มมีใช้ประมาณ 1980 ปริมาณการยังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในแวดวงนักธุรกิจ

รูปที่ 1.2 โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 1G

                    ยุค 2 G เริ่มนำมาใช้ประมาณ 1990 เปลี่ยนเป็นการส่งคลื่นวิทยุแบบอนาล็อกเป็นการส่งแบบเข้ารหัสดิจิตอล เริ่มมีความสามารถใช้งานทางด้านรับส่งข้อมูล แต่เป็นข้อมูลขนาดเล็ก เช่น ข้อความสั้น ๆ (SMS – Short Message Service) มีความยาวไม่เกิน 160 ตัวอักษร ประสิทธิภาพการรับส่งถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ สามารถกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน(Cell site) ราคาโทรศัพท์มือถือเริ่มลดต่ำลง ทำให้มีผู้ใช้มากขึ้น เริ่มมีดาวน์โหลด Ring tone แบบ monotone ,ภาพ Graphic, Wall paper ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพขาวดำ มีความละเอียดต่ำ

มาตรฐานที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือยุคที่ 2 คือ
                     1. GSM – Global System for Mobile Communication เป็นมาตรฐานหลักในทวีปยุโรป และ เอเซียประมาณ 160 ประทเศ โทรศัพท์เพียงหมายเลขเดียวสามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก (Roaming) ใช้ข้ามเครือข่ายได้
                     2. CDMA – Code Division Multiple Access นิยมใช้ในอเมริกาและเกาหลีใต้ ผู้ใช้ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ข้ามเครือข่ายได้ คุณภาพเสียงและสัญญาณข้อมูลที่ได้มีคุณภาพดีกว่าแบบ GSM
ยุค 2.5 G เป็นยุคระหว่าง 2G กับ 3G เทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) เกิดขึ้นในยุคนี้
มีความเร็วสูงสุดในการรับส่งข้อมูลถึง 115 Kbps แต่ในทางปฏิบัติ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น เริ่มมีการใช้งานในเชิง Data มากขึ้น SMS กลายเป็น MMS Ringtone ก็กลายเป็นPolyphonic และ True tone จอภาพมีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นภาพสีที่มีความคมชัด


                    ก่อนจะเข้ายุค 3G มีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) บางคนเรียกแบบไม่เป็นทางการว่า ยุค 2.75G EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRSเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRSให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้นประมาณ 3 เท่า
                    ยุค 3G หรือ Third Generation เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ 2.1 GHz มีอยู่ 2 มาตรฐานคือใช้เทคโนโลยีใหม่ ที่เรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS)บางแห่งเรียกว่า WCDMA (Wideband Code Division Multiple Access) ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก GSM และอีกมาตรฐานคือเทคโนโลยี CDMA2000 พัฒนามาจากเครือข่าย CDMA
                    การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สายมาสามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น สามารถเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เนตได้อย่างสมบูรณ์ การรับส่งข้อมูลมีความเร็วตั้งแต่ 384 kbps จนถึง 2 Mbps เพียงพอต่อการรับส่งข้อมูลประเภทสื่อประสม หรือ multimedia สามารถรับส่งไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ download เพลง ดู TV Streaming และประชุมแบบ Video Conference ในอนาคต E learning จะเปลี่ยนเป็น M learning หรือ Mobile learning เมื่อเราเปิดโทรศัพท์ระบบ 3G จะเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ของเราตลอดเวลา


ลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับระบบ 3G ในไทย
                   - ก่อนปี พ.ศ. 2540 หน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยมี 3 องค์กรคือ 1. กรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นหน่วยงานราชการ 2. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ให้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศ  และ  3.การสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ให้บริ การโทรศัพท์ระหว่างประเทศและการสื่อสารชนิดอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต โดยที่ทั้งสามหน่วยงาน สังกัดกระทรวงคมนาคม
                   - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บทบัญญัติใน มาตรา 40 กำหนดให้มีองค์กรอิสระที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาล มาดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม ได้มีการยกร่างและประกาศใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 จึงได้มีการจัดตั้ง กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (NTC)The National Telecommunications Commission)และ กสช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ) ต่อมามีการเปลี่ยนระบบสัมปทานคลื่นความถี่มาเป็นระบบ “ใบอนุญาต” หรือ License แทน กำหนดให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ย้ายมารวมอยู่กับ กทช. และแยกหน่วยงานด้านไปรษณีย์ ไปเป็นบริษัท ไปรณีย์ไทย จำกัด
                   - 3 ตุลาคม 2545 ได้มีการประกาศปฏิรูประบบราชการไทยใหม่ (ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี) มีการตั้งกระทรวงใหม่ ๆ เพิ่มเติม หลายกระทรวง รวมทั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)หน่วยงานทั้งสามหน่วยที่เคยสังกัดกระทรวงคมนาคม ถูกย้ายมาสังกัดกระทรวงไอซีทีแทน

                   -14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ทางด้านการสื่อสารแห่งประเทศไทย ถูกแปรรูปเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)(CAT) ซึ่งมีกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% โดยมีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และการสื่อสารชนิดอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต
                   - วันที่1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แยกองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แปรรูปเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน (TOT)เมื่อ โดยมีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยใช้ระบบสัมปทาน โดยมี TOT และ CAT เป็นผู้ผูกขาดเพียง 2 องค์กรเท่านั้น ทั้งสองบริษัททำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียว ด้านการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งTOTและ CAT ได้เปิดให้เอกชนประมูลคลื่นความถี่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย TOT ได้
ให้สัมปทานคลื่นความถี่แก่บริษัท AIS และCATได้ให้สัมปทานคลื่นความถี่แก่บริษัท DTAC และ TRUE ส่วนหน้าที่ในการกำกับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ถูกโอนย้ายไปอยู่กับ กทช
                    - ถ้าเป็นไปตามแผนการประมูลระบบ 3G ของ กทช. ในช่วงกลางปี 2552 จะมีการออกใบอนุญาต 4 ใบ โดยให้ผู้ประกอบการรายเก่า 3 ใบ ซึ่งได้แก่ AIS DTAC และTRUE และให้ผู้ประกอบการรายใหม่อีก 1 ใบ TOT และ CAT ซึ่งอยู่ในรูปบริษัทของรัฐ จึงไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ตามกฎเกณฑ์ที่ กทช. ตั้งไว้ กระทรวงไอซีที ซึ่งดูแลบริษัททั้งสองอยู่ได้เข้าร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีให้ กทช. เปลี่ยนกฎเกณฑ์
                   - กันยายน พ.ศ.2549 เกิดการรัฐประหาร มีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ.2550 ระบุว่าให้เหลือองค์กรที่ดูแลจัดสรรเพียงหน่วยงานเดียว ทำให้ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ. 2543 ที่ระบุว่าต้องมี 2 องค์กร ต้องถูกยกเลิกไปเพราะขัดกับรัฐธรรมนูญฯฉบับปี50 ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องรีบเร่งสรรหากสทช. ขึ้นมาใหม่ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้น ยังไม่ได้มีการแต่งตั้ง กสช. ขึ้นมาแต่อย่างใด
                   - สิงหาคม 2553 กทช. ประกาศให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ค่าย DTAC , AIS และ TRUE เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตการให้บริการ 3G ได้ ซึ่งจะเปิดประมูลวันที่ 20 กันยายน 2553 กทช. แต่ กสท. ได้.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เมื่อ 13 กันยายน 2553 ให้เพิกถอนการประกาศประมูลคลื่น 3G ของ กทช. โดยอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G (ความถี่ย่าน 2.1 GHz) ซึ่งสามารถส่งได้ทั้งเสียง(วิทยุ) ข้อมูลและภาพ(โทรทัศน์) จึงเป็นระบบการสื่อสารที่ใช้ได้ทั้งการโทรคมนาคมการกระจายเสียงและโทรคมนาคม พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ ปี พ.ศ. 2543ให้ กทช.มีอำนาจออกใบอนุญาต และกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมเท่านั้น ส่วน กิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์แห่งชาติ เป็นอำนาจของ กสช. ซึ่งจนถึง ณ เวลานี้ก็ยังไม่มีการแต่งตั้ง
                     - 16 กันยายน 2553 ศาลปกครองพิจารณาไต่สวนฉุกเฉินและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่ กสท. (CAT) ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่า ไม่มีอำนาจในการเปิดประมูลใบอนุญาต 3Gตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550เป็นผลให้การเปิดประมูลใบอนุญาตโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3G ที่กำลังจะมีขึ้นต้องถูกระงับไปอย่างไม่มีกำหนด
                    - 22 กันยายน 2553 กทช.ยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองชั้นต้นที่ให้ระงับการ ประมูลใบอนุญาต 3G
                    - 23 กันยายน 2553 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งที่ 379/2553 ให้ยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลางที่คุ้มครองชั่วคราว ทำให้ กทช.ต้องระงับการเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G
                    - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ ทำให้สถานะของ กทช. ต้องยุติลง และจัดตั้ง กสทช.คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) The National Broadcasting and Telecommunications Commission ขึ้นแทนดังนั้นการใช้งาน 3G(คลื่นความถี่ 2.1GHz)จึงต้องรอต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการ กสทช. เกิดขึ้นมาได้เสียก่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) (นายจุติ ไกรฤกษ์) กล่าวว่า ถึงแม้ศาลปกครองจะสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่ยืนยันว่านโยบายของรัฐบาลยังคงผลักดันให้คนไทยได้ใช้โครงข่าย 3Gในอนาคตอันใกล้ ถ้าต้องรอให้มีการแต่งตั้ง กสทช. อย่างเร็วที่สุดก็ปีครึ่งถึง 2 ปีถึงจะแต่งตั้งกันได้ เมื่อนั้นเทคโนโลยี 3G ก็น่าจะล้าสมัย
                    ทางออกในปัจจุบันที่จะให้ประเทศไทยมี 3G ตอนนี้คือ ให้ TOT เปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 ผู้ชนะการประมูลคือกลุ่มเอสแอล คอนซอร์เตียม ประกอบด้วย บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัทโนเกีย-ซีเมนส์ และบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ด้วยราคา 16,290 ล้านบาท จากราคากลางที่ตั้งไว้ที่ 17,440 ล้านบาท จะมีการเซ็นสัญญาจ้างอย่างเป็นทางการใน วันที่ 31 มกราคม 2554
                    แล้ว TOT ใช้สิทธิอะไรในการเปิดประมูล 3G ในขณะที่ กทช. ไม่สามารถกระทำได้ เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปดูเรื่องราวในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2540 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT) และ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT)ในฐานะผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในขณะนั้น ได้ถือครองคลื่น
โทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนที่ TOT ถือครองคลื่นความถี่ 900 MHz และ 2.1 GHz และ CAT ถือครองความถี่ 850 MHz และ 1.8 GHz ทั้งสองหน่วยงานได้เปิดให้เอกชนประมูลคลื่นความถี่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปรากฏว่า AIS ชนะการประมูลคลื่อน 900 MHzของ TOT ได้รับสัมปทานถึง พ.ศ. 2558 DTAC เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่น 1800 MHz ของ CAT ได้รับสัมปทานถึง พ.ศ. 2561 ต่อมา DTAC ได้แบ่งคลื่น 1800 บางส่วนให้กับบริษัท TA ซึ่งภายหลังกลายมาเป็น Orange และ TRUE MOVE และบริษัท DPC ของกลุ่มสามารถซึ่งให้บริการ Hello 1800 ภายหลังถูก AIS ควบกิจการจนกลายเป็น GSM 1800
                     นอกจากนั้น CAT ได้ให้สัมปทานคลื่น 850MHz บางส่วนกับบริษัท DTAC และ ที่เหลือให้บริษัท Hutch เป็น MVNO (Mobile Virtual Network Operator คือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยที่ไม่ได้ครอบครองคลื่นความถี่ หรือโครงข่ายที่จำเป็น ได้ทำข้อตกลงการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้) ทำตลาดในกรุงเทพ และปริมณฑล 25 จังหวัด ในระบบ CDMA ซึ่งเป็นเครือข่ายของ CAT ส่วนต่างจังหวัดนั้น CAT เป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด จะเห็นว่าคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เป็นสมบัติของ TOT และ CAT อยู่แล้ว แต่ไม่นำออกมาดำเนินการให้ใช้งานได้เท่านั้นเอง(แล้วทำไมไม่ทำ นั่นเป็นเรื่องต้องค้นคว้าในเชิงลึกต่อไป)

                    - 31 มกราคม 2554 TRUE ซื้อกิจการการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA ที่มีชื่อว่า "Hutch" ของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน และเซนสัญญากับ CAT ในการดูแลเพื่อโอนถ่ายลูกค้าระบบCDMA เข้าสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เทคโนโลยี HSPA (High-Speed Packet Access- เป็นระบบของเครือข่ายมือถือ 3G รองรับความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลได้ถึง 14.4 เมกะบิตต่อวินาทีมีความเร็วของการสื่อสารสูงกว่า EDGE ถึง 36 เท่า หรือเร็วกว่า GPRS ถึง 100 เท่า) โดยจะลงทุนปรับปรุงโครงข่าย CDMA 3000 สถานีฐาน เป็นโครงข่ายเทคโนโลยี HSPA ทั้งหมด สัญญาเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการเครือ ข่ายโทรศัพท์เคลื่อนครั้งนี้ทำให้เวลาที่ได้สัมปทาน เพิ่มขึ้นอีก 15 ปี ทั้ง ๆ ที่ สัญญาสัมปทานที่ TRUE ทำกับ CAT เหลืออายุสัญญาเพียง 2 ปี
                   ในระหว่างนั้น พนักงาน CAT ได้ยื่นหนังสือกับประธานคณะกรรมการของ CAT เพื่อคัดค้านการลงนามตามสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3Gกับ TRUEโดยระบุว่าเป็นการเร่งรัดจนผิดสังเกต ต่อมา คณะทำงานร่างสัญญาดังกล่าวซึ่ง ได้ตัดสินใจลาออกยกชุด 17คน เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการเซ็นสัญญา โดยต้องการให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาก่อน รวมถึงให้บอร์ดบริหารเห็นชอบ แม้ที่ผ่านมามีการส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้วก็ตามก็ และเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเร่งเซ็นสัญญา
                 - 26 มกราคม 2554 บริษัท Ericson ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในการร่วมประมูล 3G ของ TOT ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ในกรณีที่ TOTไม่ให้ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้น สาเหตุจากขาดเอกสารด้านเทคนิค ตกมาศาลปกครองได้ยกคำร้องของบริษัท Ericson เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2554
ทั้งหมดนี้คือเหตุการณ์การพัฒนา 3Gที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนประชาชนชาวไทยจะได้ใช้ 3G กันได้
อย่างจริงจังเมื่อใดนั้นคงเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไป



ตรวจสอบโทรศัพท์มือถือของเราดูสิ

                  - กด *#06# หน้าจอโทรศัทพ์มือถือ จะปรากฏหมายเลขเครื่อง serial number หรือที่เรียกว่า อิมี่ จำนวน 15- 17 หลัก ให้จดเก็บเลขนี้ไว้ ถ้าโทรศัพท์หาย หรือตกหล่น ให้โทรศัพท์ไปที่ศูนย์และแจ้งหมายเลขนี้ ศูนย์ ฯ จะบล็อกเครื่องที่หายให้เรา ผู้ที่ขโมย หรือเก็บได้ ไม่สามารถนำไปใช้ได้ตลอดไปถึงแม้จะเปลี่ยน Sim card ใหม่ก็ตาม
                 - หมายเลขสากลฉุกเฉิน 112 ใช้ได้ทั่วโลก เมื่อมีเหตุร้ายหรือเหตุฉุกเฉิน ให้กด 112 ถึงแม้จะล็อคปุ่มก็ยังกดเบอร์นี้ได้
                 - สำหรับมือถือยี่ห้อ Nokia ถ้าแบตเตอรีเหลือน้อยจนใกล้หมด แต่มีความจำเป็นต้องโทรออก ให้กด *3370# มันจะนำพลังงานสำรองที่ซ่อนเก็บไว้ออกมาใช้ จะเห็นว่าขีดแสดงพลังงานจะเพิ่มขึ้นมาอีก 50% มันจะนำมาชดเชยไว้เหมือนเดิม เมื่อเราชาร์จแบตเตอรีครั้งต่อไป

ระบบปฏิบัติการสำหรับ Smart phone
                 Smart phone เป็นได้มากกว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้ติดต่อสื่อสารทางเสียง เพราะสามารถใช้รับส่ง e-mailทวิตเตอร์กับเพื่อน เขียนและส่งข้อความใน facebookหรือ chatกับเพื่อน บางครั้งสามารถแปลงโฉมเป็น navigatorชึ้ทางไปยังสถานที่ที่เราไม่เคยไป สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ดึงไฟล์มัลติมีเดียมาเล่นที่เครื่องได้ ใน Smart phone มีระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันอยู่ 5 ระบบดังนี้
                  Android 3.0 เป็นระบบปฏิบัติการ Open source สามารถนำมาใช้ได้ฟรี ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วผู้ใช้สามารถปรับแต่งและเปลี่ยนแปลงระบบด้วยตนเอง สามาถเพิ่มเติม application จัดโฟลเดอร์ หรือใส่ Widget ให้ระบบ สามารถเปลี่ยนหน้าตาของ User interface แอพพลิเคชันต่าง ๆ สามารถดาวน์โหลดผ่านทาง Android market ตั้งแต่เวอร์ชัน 2.2 นี้ได้เพิ่ม Just in time compiler ช่วยให้การทำงานของแอพพลิเคชันต่าง ๆ เร็วขึ้นกว่าเดิมประมาณ 2-5 เท่า เพิ่ม HTML5 เพื่อรองรับบริการ cloud ของ Google ปรับปรุง APIs ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รองรับโปรแกร flash เวอร์ชัน 10.1 ได้เต็มรูปแบบ มีระบบขอเงินคืน กรณีที่สั่งซื้อแอพพลิเคชันโดยไม่ตั้งใจ แต่ต้องทำในเวลา 15 นาทีหลังจากซื้อแล้วเท่านั้น ข้อเสียของระบบนี้คือ ผู้ใช้ต้องศึกษาระบบการทำงานก่อนใช้งานจริง ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบสำหรับผู้ใช้ที่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เลย ต้องมีบัตรเครดิตจึงจะสามารถสั่งซื้อแอพพลิเคชันได้ มิฉนั้นจะใช้ได้เฉพาะแอพพลิเคชันที่เป็นของฟรีเท่านั้น กรณีที่ผู้ใช้ใช้แอนดรอยด์รุ่น 1.6 เมื่อดาวน์โหลดแอพลิเคชันรุ่นใหม่ ไปลงพบว่าไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งตรงนี้น่าจะมีวิธีป้องกันไม่ให้ดาวน์โหลดไปใช้ ถ้าเป็นเวอร์ชันเก่า

รูปที่ 1.3 HTC Desire พร้อมกับ Android 2



                    IOS 4.1 ใช้กับ iPhone ทำให้เป็น smart phone ที่ลงตัวมากที่สุด เพราะใช้งานง่าย ไม่ต้องมีพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ มีการเพิ่มระบบโฟลเดอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดระเบียบแอพพลิเคชันในเครื่องได้ดีขึ้น มีการเพิ่มระบบ มัลติทาสก์ การติดตั้งแอพพลิเคชัน การสำรองข้อมูล ทำได้ง่ายโดยผ่านโปรแกรม iTunes ที่เชื่อมต่อกับ App Store โดยตรง ข้อเสียของระบบปฏิบัติการนี้คือ ราคาแพง ผู้ใช้ไม่สามารถปรับแต่งระบบได้เลย ไม่สามารถแก้ไขแอพพลิเคชันพื้นฐานหรือจัดการข้อมูลภายในเครื่อง การแลกเปลี่ยนไฟล์เพลงหรือคลิปวิดีโอกับเครื่องอื่นไม่สามารถทำได้โดยตรง ต้องเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนผ่านโปรแกรม iTunes เท่านั้น


รูปที่ 1.4 iPhone 4 และ iOS4.1

                      BlackBerry 6 สร้างโดยบริษัท RIM หรือ Research in Motion เป็นระบบที่ออกแบบหน้าจอแรก (Home screen) ดูเรียบง่าย มีแถบข้อมูลขนาดใหญ่ด้านบน เพื่อบอกเครื่อข่ายโทรศัพท์ที่ใช้ วัน เวลา ข้อมูล update ต่าง ๆ ปริมาณพลังงานที่เหลือในแบตเตอรี่ และข้อความเตือนต่าง ๆ บนหน้าจอแรกออกแบบเป็น multiple view โดยให้แถบไอคอนของเมนูและแอพพลิเคชันต่าง ๆ แสดงทั้งหมด 5 รูปแบบ คือ All, Favorite, Media , Downloads และ Frequent ผู้ใช้สามารถปรับแต่งและจัดตำแหน่งแอพพลิ เคชันใน multipleviewได้ตามใจชอบ และเข้าถึงได้ง่ายโดยใช้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ในรุ่นนี้ได้เพิ่มขีดความสามารถของระบบรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัสข้อมูลและรองรับระบบ smart card ข้อเสียของระบบนี้คือ ระบบนำทางยังคงใช้งานยาก การตั้งค่าบางอย่างไม่มีทางลัดสั้นต้องผ่านหน้าจอระบบสัมผัสหรือผ่านปุ่มเมนูเท่านั้น แต่ได้แก้ปัญหาโดยมี Trackpadติดมาด้วย การออกแบบเมนูยังไม่ดีพอเมื่อเทียบกับระบบปฏิบัติการอื่น

รูปที่ 1.5 BlackBerry Torch พร้อม ระบบปฏิบัติการรุ่น 6

                    Symbian 3 เป็นของบริษัท Nokia เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอยู่ใน smart phone มากที่สุดในขณะนี้ (พ.ศ.2554) และกำลังถูกแย่งส่วนแบ่งจากระบบปฏิบัติการอื่น เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่ายด้วยระบบสัมผัสตอบสนองการสั่งงานได้อย่างรวดเร็ว ออกแบบระบบไว้อย่างลงตัว มีฟังก์ชันจัดการและแก้ไขข้อมูลในตัวเครื่องโดยไม่ต้องไปหาแอพพลิเคชันอื่นเพิ่มเติม สามารถต่อโทรทัศน์หรือโปรเจกเตอร์ผ่านพอร์ต HDMI สามารถเชื่อมต่อฮาร์ดิส และแฟลชไดรว์ ผ่านทางพอร์ต USB ข้อเสีย มีการใช้ตัวย่อในคำสังเมนู ทำให้เกิดความสับสนต่อผู้ใช้ เช่น install Progr. เป็นต้น บราวเซอร์ยังมีการกระตุกให้เห็นบ้างบางครั้ง
                     Windows Phone 7 ไมโครซอฟต์ได้หยุดพัฒนา Windows Mobile ได้เริ่มต้นสร้างระบบปฏิบัติการสำหรับ smart phone ตัวใหม่ เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดกลับคืน ได้เปลี่ยนทุก ๆ อย่างที่เคยมีใน Windows Mobile จะมีหน้าจออยู่ 2 หน้าจอคือ Home screen จะรวมแอพพลิเคชันไว้ในหน้าเดียวกันออกแบบเป็นบล็อคสี่เหลี่ยม เรียกว่า Hubs หมายถึงเป็นศูนย์กลางการใช้งานด้านต่าง ๆ หน้าจอที่สองจะเป็นไอคอนขนาดเล็ก เป็นเครื่องมือในกาตั้งค่าการใช้งานของเครื่อง การติดตั้งแอพพลิเคชัน ต้องผ่าน Market place เพียงแบบเดียว การเข้าถึงไฟล์มีเดียต่าง ๆ ต้องผ่านโปรแกรม Zune เท่านั้น การจัดการไฟล์เอกสารต้องใช้บริการพื้นที่ Sky Drive บนอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว คงต้องรอให้ไมโครซอฟต์ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องอีกสักระยะหนึ่ง





โทรศัพท์มือถือ คือ?


           โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทาง โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูก กล่าวถึงในชื่อ Smart Phone




                โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส